ก้าวไปสู่ “ประชาคมอาเซียน” ภายในปี 2558




ASEAN สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations)

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ ASEAN เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์ การเมือง และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
สัญลักษณ์               สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้                                             หมายถึง  ประเทศสมาชิก      10 ประเทศรวมกัน เพื่อมิตรภาพและ                     ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
                                มีตัวอักษร คำว่า asean  สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความ
                                มั่นคง  สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
                                สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์และ สีเหลือง         หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
คำขวัญ                   “One Vision, One Identity, One Community”
                                หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม
เพลงอาเซียน       The Asean way
ประเทศสมาชิก      10 ประเทศ
  1.      บรูไนดารุสซาลาม  
  2.    ราชอาณาจักรกัมพูชา  
  3.   สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 
  4.    สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว   
  5.    สหพันธรัฐมาเลเซีย 
  6.    สหภาพพม่า    
  7.    สาธารณรัฐฟิลิปปินส์     
  8.    สาธารณรัฐสิงคโปร์
  9.    ประเทศไทย
  10.    สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

ประเทศสังเกตุการณ์              ประเทศติมอร์ตะวันออก  ประเทศปาปัวนิวกินี
อาเซียน + 3                            ASEAN + สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีใต้  ประเทศญี่ปุ่น
อาเซียน +6                             ASEAN + สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลีใต้  ประเทศญี่ปุ่น
อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
เลขาธิการอาเซียน                    ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ มีวาระ 5 ปี
สำนักงานใหญ่          กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
การจัดตั้งกลุ่มประเทศอาเซียน ในครั้งแรก มีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้เกิดความร่วมมือเฉพาะในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพราะแต่ละประเทศมีแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันอย่างมาก ภายหลังก็ได้เพิ่มความร่วมมือด้านการเมืองเข้าไปด้วย เพื่อต้องการสร้างให้ภูมิภาคนี้มีความมั่นคง และเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นจะได้มีอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย  การที่ประเทศเหล่านี้ได้ลืมวิกฤตความขัดแย้งและมาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด โดยมีเป้าหมายสำคัญ เพื่อยกระดับการพัฒนาและเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน รวมทั้งเป็นการเพิ่มพูนความร่วมมือ และความใกล้ชิดระหว่างภาคประชาชนของประเทศสมาชิก เพื่อให้ประชาชนของประเทศสมาชิกอาเซียนรู้จักกันและกัน และรู้จักอาเซียนมากขึ้น อันจะนำไปสู่การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต

5 Response to " "

  1. ฐาติกร มอมุงคุณ ม.3/6 เลขที่22 Says:

    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

  2. krutida Says:

    ดีมากค่ะ ที่สนใจ 555

  3. ณัฐพงษ เขื่อนพันธ์ 3/2 Says:

    อ่านแล้วผมได้ความรู้มากเลยคับขอบคุนคับ

  4. วิรัญชนา 3/7 Says:

    เข้าใจขึ้นเยอะเลยค่ะ

  5. Unknown Says:

    อ่านแล้วได้ความรู้มากเลยครับ

แสดงความคิดเห็น